จ่อทบทวนไทยนำเข้าขยะพิษ พบ3จ.อีสานเสี่ยงรับสารเคมี
จ่อทบทวนไทยห้ามนำเข้าขยะพิษตามรอยจีนชี้ขอเวลาพิจารณาให้รอบคอบ
ขณะที่ สธ.เผยผลคัดกรองคนทำอาชีพแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ 3 จว.อีสาน
พบเสี่ยงรับอันตรายจากสารเคมี 33.94%
เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงอุตสาหกรรม
เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างพิจารณาความจำเป็นในการอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามอนุสัญญาบาเซล โดยเฉพาะประเด็นความสามารถในการรีไซเคิลและกำจัดซากอิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามอนุสัญญา
เป็นไปตามมาตรฐานหรือมีปัญหามากน้อยแค่ไหน เนื่องจากที่ผ่านมาแม้โรงงานได้รับใบอนุญาตแล้ว
แต่หลายโรงงานก็ได้ทำผิดเงื่อนไข
เช่นนำซากอิเล็กทรอนิกส์ไปส่งต่อให้โรงงานแห่งอื่นที่ไม่ได้รับใบอนุญาต
ล่าสุดมีโรงงานทีได้รับอนุญาตรีไซเคิล 7แห่งถูกพักใบอนุญาตไปถึง 5
แห่ง มีโรงงานเพียง2 แห่ง คือ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ บริษัทหมิง
เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) และบริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์
อีโค-แมนูแฟคเจอริ่งเท่านั้นที่ทำถูกต้อง หากได้ข้อสรุปแล้วจะนำเสนอนายอุตตม
สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาต่อไป
ตอนนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม
อยู่ระหว่างพิจารณาถึงความจำเป็นในการอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
เข้ามากำจัดในประเทศว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน
เพราะเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายจึงต้องคิดอย่างรอบคอบ
มีทั้งโรงงานที่ทำถูกต้องแต่โรงงานที่ทำไม่ต้องก็มีจำนวนมาก คาดว่า
จะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้
นอกจากนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการพิจารณาบทลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายทั้งพ.ร.บ.โรงงานพ.ศ.
2535 ที่มีโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาทหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ
หรือกฎหมายตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย ปี 2535ของกรมโรงงานฯที่มีโทษปรับ 2 แสนบาท หรือ
จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือ ทั้งจำทั้งปรับ สำหรับโรงงานที่นำไปกำจัดขยะอุตสาหกรรมแบบผิดวิธีเนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าเป็นโทษที่เบาเกินไป
เมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดขึ้น
ด้านนายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจโรงงาน คัดแยกขยะและรีไซเคิล
ที่เกี่ยวข้องกับ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แล้ว 80% จากทั้งหมด
148 โรงงาน มีโรงงานผิดกฎหมายประมาณ 10 %
คาดว่าภายในกลางเดือนมิ.ย.จะตรวจสอบแล้วเสร็จทั้ง 148 โรงงาน
และได้วางแผนระยะยาวเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบทั้งการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์
ตั้งแต่ด่านศุลกากรและสั่งให้กรมโรงงานในพื้นที่ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบโรงงานกำจัดซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ
นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า
จากการคัดกรองความเสี่ยง จากการทำงานของผู้ประกอบอาชีพเก็บ คัดแยก
และรีไซเคิลขยะในโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน
ควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการคัดแยกและรีไซเคิลขยะ
ในพื้นที่เสี่ยงสูงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพประชาชน ปีงบประมาณ 2559
ของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ใน 3
จังหวัดคือ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี มีคนทำอาชีพดังกล่าว 607 ราย
และพบได้รับความเสี่ยงจากการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์
โดยได้รับการสัมผัสสารเคมีจากการหายใจการกิน ทางผิวหนังในขณะทำงาน 206 ราย คิดเป็น
33.94 เปอร์เซ็นต์
ที่มา:เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น